วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554



ความหมายของวัฒนธรรม

ความหมายของวัฒนธรรม
       วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นและสั่งสมมาเป็นระยะเวล

ายาวนาน ตั้งแต่ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี กฎหมาย ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ จนกลายเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตที่คน ในสังคมได้เลือกสรร ปรับปรุงแก้ไข จนถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงามเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการ สืบทอดมายาวนาน ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจร่วมกัน และสามารถประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน

ความหมายของวัฒนธรรมไทย
       วัฒนธรรม ไทย เป็นสิ่งที่แสดงความเป็นชาติให้ปรากฏชัดเจนขึ้น ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นทำให้คนไทยแตกต่าง จากชาติอื่นๆ มีเอกลักษณ์ประจำชาติที่เห็นได้จากภาษาที่ใช้ อุปนิสัยใจคอ ความรู้สึกนึกคิดตลอดจนการแสดงออกที่นุ่มนวล อันมีผลมาจากสังคมไทยที่เป็นสังคมแบบประเพณี และเป็นสังคมเกษตรกรรม เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในชนบท สภาพของสิ่งแวดล้อมที่ดี กล่อมเกลาจิตใจมีความโอบอ้อมอารี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลซึ่งกันและกันตลอดมา

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

ประเพณีลอยกระทง


ประเพณีและวัฒนธรรมเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ http://www.prapayneethai.com/

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย       
     วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ไม่มั่นคงที่หรือใช้เฉพาะในสังคมหนึ่งเท่านั้น  ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการขนส่งคมนาคม  ทำให้การเผยแพร่่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่หรือการกระจายทางวัฒนธรรม(Cultural Diffusion)
       
หลังการปฏิวััติอุตสาหกรรมในยุโรป  ทำให้ชนชาติเหล่านั้นแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปเอเชียด้วยแล้ว  สังคมไทยก็ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มชาวยุโรป  โดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิทธิพลของวัฒนธรรม ตะวันตกก็ยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยสาเหตุต่อไปนี้

      1.
ความเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง ทำให้การเดินทางสะดวก การเผยแพร่วัฒนธรรมจะเร็วขึ้น
การเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง
      2. อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น  ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ
      3.
การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง คือ ประเทศต่าง ๆ ส่งคนเข้่ามาเผยแพร่ หรือจากการออกไปศึกษาเล่าเรียน  เมื่อกลับมาแล้วก็นำวัฒนธรรมนั้นมาเผยแพร่

อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ
       อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม แยกเป็นด้านต่าง ๆ นี้

       1.
ทางการศึกษา วัฒนธรรมขอมอินเดีย  เข้ามามีอิทธิพลในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
            -
ภาษาตะวันตก เริ่มเข้าสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  เมื่อร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษคิดตัวพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
            -
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฎิรูปการศึกษาและสังคม  มีการตั้งกระทรวงธรรมการ เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่นั้นมา
           -
ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยยึดหลักแนวทางจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งด้านปรัชญาการศึกษา เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน  ส่วนวิทยาการสมัยใหม่  ในวงการศึกษาของไทยรับมาจาก ตะวันตกเป็นส่วนใหญ่
       2. ทางการเมือง
           -
สมัยสุโขทัยการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก
           -
สมัยกรุงศรีอยุธยา รับอิทธิพลจากขอมและอินเดีย เป็นแบบลัทธิเทวราช กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ (ข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย)
           -
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสภาที่ปรึกษา  นับเป็นการเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย  จนกระทั่งปีพ.ศ. 2475 จึงเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศในยุโรป 
       3.
ทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด
       4.
ทางสังคมและวัฒนธรรม อิทธิพลจากต่างชาติทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไป  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจมีความอบอุ่นน้อยลง  มีการชิงดีชิงเด่น  ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบทุติยภูมิ

         วัฒนธรรมอินเดียที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
พระพุทธรูป
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
กฏหมายตราสามดวง
         1. การเมืองการปกครอง กษัตริย์เป็นเทวราชตามศาสนาพราหมณ์   เกิดระบบเจ้าขุนมูลนาย  ส่วนประมวล
กฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดียนั้น  เป็นที่มาของกฎหมายตราสามดวงในประเทศไทยและกฎมณเฑียรบาล
         2.
ศาสนา ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ มากมาย เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โกนจุก หลักทศพิธราชธรรม
         3.
ภาษาและวรรณกรรม รับภาษาบาลีและสันสกฤต เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางภาษา แต่ไม่ได้ใช้พูด ไม่มีอิทธิพลเหมือนภาษาตะวันตก  วรรณกรรมคือมหากาพย์รามายณะ  มหาภารตยุทธ และพระไตรปิฎก
         4.
ศิลปกรรม ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา ได้แก่ การสร้างสถูป เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนัง  ท่าร่ายรำต่าง ๆ

         
วัฒนธรรมจีนที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
                       
         จีน เข้ามาสมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาโดยเข้ามาค้าขาย ในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เข้ามาทำมาหากิน ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมไทยกับจีน  จนกลายเป็นวัฒนธรรมไทย  อิทธิพลวัฒนธรรมจีนต่อวัฒนธรรมไทยได้แก่
         1.
ความเชื่อทางศาสนา เป็นการผสมผสาน การบูชาบรรพบุรุษ การนับถือเจ้า ส่วนการไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ ชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ยอมรับวัฒนธรรมเดิมของจีนน้อยลงทุกที
         2.
ด้านศิลปกรรม เครื่องชามสังคโลกเข้ามาในสมัยสุโขทัย
         3.
ด้านวรรณกรรม การแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทย  เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ สามก๊กอำนวยการแปลโดย เจ้าพระยาคลัง (หน) กลายเป็นเพชรน้ำงามแห่งวรรณคดีไทย
         4.
วัฒนธรรมอื่น ๆ มีอาหารจีน และ "ขนมจันอับ" ที่กลายเป็นขนมที่มีบทบาทในวัฒนธรรมไทย ใช้ในพิธี ก๋วยเตี๋ยวก็กลายมาเป็นอาหารหลักของไทย  นอกจากนี้ยังมีข้าวต้มกุ๊ย ผัดซีอิ๊ว และซาลาเปา เป็นต้น

         วัฒนธรรมชาตินิยมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย

         โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นำวัฒนธรรมการทำปืนไฟ การสร้างป้อมต่อต้านปืนไฟ ยุทธวิธีทางการทหาร การทำขี้ผึ้งรักษาแผล การทำขนมฝอยทอง ขนมฝรั่ง  เป็นทหารอาสาสมัยพระชัยราชาธิราช รบกับพม่า 120 คน
        
ฮอลันดาเข้ามาสมัยในสมัยพระนเรศรวรมหาราช อาคารที่ฮอลันดาสร้าง ไทยเรียกว่า "ตึกวิลันดา" นำอาวุธปืนมาขาย รวมทั้งเครื่องแก้ว กล้องยาสูบ เครื่องเพชรเครื่องพลอย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงพอพระทัยแว่นตา และกล้องส่องทางไกลจากฮอลันดา
        
อังกฤษ เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอกาทศรถ มุ่งทางด้านการค้า แต่สู้ฮอลันดาไม่ได้ เช่น ยอร์ช ไวท์ มีต่ำแหน่งเป็นออกหลวงวิชิตสาคร ส่วน แซมมวล ไวท์ ได้เป็นนายท่าเมืองมะริด
       
ฝรั่งเศส เข้ามาสมัยพระนารายณ์มหาราช เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ คณะบาทหลวงได้นำความรู้ด้านการแพทย์ การศึกษา การทหาร ดาราศาสตร์ การวางท่อประปา การสร้างหอดูดาวที่ลพบุรีและอื่น ๆ อีกหลายแห่ง
       
ในสมัยอยุธยาตอนปลายความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกลดลงและหยุดชะงักไปใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตกโดยมีการเปิดสัมพันธ์ทางการทูต เพราะตะหนักถึงภยันตรายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นการป้องกันการแทรกแซงภายใน วัฒนธรรมตะวันตกจึงเริ่มผสมผสานจนเป็นที่ยอมรับและเข้ามามีบทบาทในด้านต่าง ๆ ดังนี้
        1.
การเมืองการปกครอง รับเอาประเพณี ค่านิยม วัฒนธรรม เข้ามาในประเทศ เพราะมีพระบรมวงศานุวงศ์ไปเรียนต่างประเทศ มีการปฎิรูปการปกครองแบบชาติตะวันตก ตั้งกระทรวง 12 กระทรวง
        2.
เศรษฐกิจ ยกเลิกระบบไพร่ เลิกทาส ใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการซื้อขาย ตั้งธนาคารแห่งแรก คือ  บุคคลัภย์ (Book Club) ต่อมาคือธนาคารไทยพาณิชย์
        3.
ด้านสังคม เลิกระบบหมอบคลานมาเป็นแสดงความเคารพให้นั่ง เก้าอี้แทน เปลี่ยนแปลงการแต่งกาย จัดการศึกษาเป็นระบบโรงเรียน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464
การศึกษาขยายถึงระดับมหาวิทยาลัย มีพระราชบัญญัตินามสกุล และคำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง   เด็กชาย
        
สรุปได้ว่า คนไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองมาตั้งแต่สุโขทัย ซึ่งแสดงออกถึงความเป็นชาติที่มีความรัก ความสามัคคีและสงบสุข อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมไทยก็เหมือนวัฒนธรรมของชนชาติอื่นที่เป็นวัฒนธรรม
แบบผสมผสาน คือ
       1.
มีวัฒนธรรมดังเดิมเป็นของตนเอง
       2.
รับเอาวัฒนธรรมอื่นจากภายนอกที่ได้ติดต่อสัมพันธ์กัน มาผสมผสานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

ลักษณะเด่นของวัฒนธรรมไทย

ลักษณะเด่นของวัฒนธรรมไทย
  1. เป็นวัฒนธรรมที่นับถือระบบเครือญาติ
  2. เป็นวัฒนธรรมที่เชื่อถือในการบุญการกุศลในเทศกาลต่าง ๆ
  3. เป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม
  4. เป็นวัฒนธรรมที่มีแบบแผนพิธีกรรม  มีขั้นตอนต่าง ๆในการประกอบพิธี
  5. เป็นวัฒนธรรมที่นิยมความสนุกสนาน  การละเล่นที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของงาน   
  6. เป็นวัฒนธรรมผสมผสานของวัฒนธรรมชาติอื่น ๆเข้าผสมผสานด้วย

ประเภทของวัฒนธรรมไทย

ประเภทของวัฒนธรรม
    1. วัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture) หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุอันเกิดจากความคิดและการประดิษฐ์ขึ้นมาของมนุษย์
เช่น อาหาร บ้าน ยารักษาโรค เครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น
    2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (non-material culture) หมายถึง วัฒนธรรมด้านนามธรรมที่ไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น ความคิด ความเชื่อ  ค่านิยม ประเพณี ขนบธรรมเนียม การปฏิบัติสืบต่อกันมาและเป็นที่ยอมรับในกลุ่มของตนว่าดีงาม

ประเภทของวัฒนธรรมไทย 

ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ  พ.ศ.  2485  แบ่งได้ ประเภท
    1. คติธรรม คือ วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักในการดำเนินชีวิต  ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของจิตใจซึ่งได้เรียนรู้จากศาสนา
    2. เนติธรรม  คือ วัฒนธรรมทางกฎหมาย รวมทั้งระเบียบประเพณีที่ยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญ เช่นเดียวกับ กฎหมาย
    3. สหธรรม คือ วัฒนธรรมทางสังคมที่เกี่ยวกับหลักการปฏิบัติทางสังคม  เช่น  มารยาทในงานสังคมต่างๆ
    4. วัตถุธรรม คือ วัฒนธรรมทางวัตถุ  ที่สามารถจับต้องได้สัมผัสได้  เช่น  บ้านเรือน  อาหาร  เครื่องแต่งกาย  เครื่องมือ  เครื่องใช้  และเครื่องอำนวยความสะดวก  เป็นต้น

ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย

ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย
1. วัฒนธรรมเป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคม 
   วัฒนธรรม ไทยเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมไทย  ให้มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนรวมถึงผลการแสดงพฤติกรรมตลอดจนถึงการสร้างแบบ แผนของสังคมทำให้ความคิด  ความเชื่อและค่านิยมของสมาชิกให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน
2. วัฒนธรรมทำให้เกิดความสามัคคีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  
   สังคมที่มีวัฒนธรรมเดียวกันย่อมจะมีความผูกพัน เดียวกัน เกิดความเป็นปึกแผ่น จงรักภักดีและอุทิศตนให้กับสังคมทำให้สังคมอยู่รอด
3. วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบสถาบัน
   เช่น สถาบันครอบครัวของแต่ละสังคมต่างกันไป  ทั้งนี้เนื่องจากวัฒนธรรม ในสังคมเป็นตัวกำหนดรูปแบบ เช่น วัฒนธรรมไทยกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ของครอบ ครัวเป็นแบบสามีภรรยาเดียว   ในสังคมอื่นชายอาจมีภรรยาได้หลายคนหรือหญิงอาจมีสามีได้หลายคน เป็นต้น
4. วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาและสนองความต้องการของมนุษย์   
   มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตภายใต้สิ่งแวด ล้อมได้อย่างสมบูรณ์  ดังนั้นมนุษย์ต้องแสวงหาความรู้จากประสบการณ์ที่ตนได้รับ การประดิษฐ์คิดค้นวิธีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและสนองความ ต้องการของมนุษย์ให้มากที่สุด
5. วัฒนธรรมช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า
   หากสังคมใดมีวัฒนธรรมที่ดีงามเหมาะสม เช่น ความมีระเบียบวินัย ขยัน  ประหยัด อดทน การเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว เป็นต้น  สังคมนั้นย่อมเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว
6. วัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ  
   ที่แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยแตกต่างจากสังคมอื่น เช่น  วัฒนธรรมทาง ด้านการทักทาย  คนไทยทักทายกันด้วยการยกมือไหว้  สังคมญี่ปุ่นใช้การคำนับ  สังคมตะวันตกใช้การสัมผัสมือ  เป็นต้น